วารสารเก่า

"Do not try to make a copy of this disk."

"Unauthorize copy"

ข้อความเหล่านี้ เป็นข้อความที่ขึ้นมาเตือนสำหรับบางโปรแกรมที่มีผู้พยายามก๊อปปี้แล้วลองเอาไปใช้ดู คำเตือนเหล่านี้ดูออกจะสุภาพสำหรับผู้ที่กำลังคิดจะก๊อปปี้อยู่มาก แต่สำหรับคนไทยแล้ว บางท่านอาจจะเคยพบกับคำภาษาไทยที่ออกมาบนจอภาพที่ค่อนข้างจะรุนแรงกว่านี้ บางคนอาจจะเคยได้เห็นมาแล้วบ้าง


ผู้สร้างซอฟร์ทแวร์ก็ไม่อยากให้ผลประโยชน์ของตนเองถูกละเมิดได้โดยง่าย จึงได้มีการคิดค้นหาวิธีป้องกันการก๊อบปี้กันอย่างมากมาย เทคนิควิธีการได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ จากเทคนิคที่ง่ายไปสู่ความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน วารสารไมโครฯจึงได้รวบรวมนำเทคนิควิธีการต่างๆที่มีผู้ใช้สำหรับการป้องกันการก็อบปี้มาใหผู้อ่านได้ทราบถึงวิธีการที่ใช้กัน

หากจะจารึกชื่อ โนแลน บุชเนลล์ เจ้าพ่ออะตาริ ลงในประวัติศาสตร์ แง่มุมที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน น่าจะเป็นการบอกปัดข้อเสนอของสตีฟ จ๊อบส์ (ในขณะนั้นทำงานให้อะตาริ พ.ศ. 2513) ซึ่งต้องการขยายเครือข่ายงานไปเปิดตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกัน สตีฟ วอสเนี้ยกก็ได้เสนอเรื่องเดียวกันนี้ให้ผู้บริหารของบริษัท ฮิวเล็ตต์-แพ็กการ์ด และได้รับการปฏิเสธเช่นเดียวกัน


ดังนั้น สตีฟกำลังสอง จึงลาออกมาจับมือกันเปิดบริษัท แอปเปิ้ล ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย


อีกเจ็ดปีต่อมา เมื่อมีคนยกเรื่องนี้คุยกับบุชเนลล์ เขาตอบว่า "...เห็นไหม? ฉันไม่เคยบอกว่าไม่เคยพลาด"


โนแลน บุชเนลล์ สูงหกฟุตสี่นิ้ว ไว้เคราครึ้ม เป็นผู้ประกอบการที่เกิดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ผลงานที่เขาปลุกปั้นมากับมือประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมและแล้วล้มละลายย่อยยับหลายครั้งหลายครา แต่เขายังอยู่ พยายามดิ้นรนต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทุกคนรู้จักเขาดีในฐานะพ่อมดมหัศจรรย์(รุ่นบุกเบิก)แห่งหุบเขาซิลิคอน